อารยธรรมกรีก
อารยธรรมกรีกโบราณได้แก่อารยธรรมของนครรัฐกรีกซึ่งเจริญขึ้นบนผืนแผ่นดินกรีซในทวีปยุโรปและบริเวณชายฝั่งตะวันออกของทะเลเมดิเตอร์เรเนียนด้านเอเชียไมเนอร์ซึ่งในสมัยโบราณเรียกว่าไอโอเนีย(Ionia)อารยธรรมที่เจริญขึ้นในนครรัฐกรีกมีศูนย์กลางสำคัญอยู่ที่นครรัฐเอเธนส์และนครรัฐสปาร์ตานครรัฐเอเธนส์เป็นแหล่งความเจริญในด้านต่างๆ ทั้งทางด้านการปกครองเศรษฐกิจสังคมศิลปะวิทยาการรวมทั้งปรัชญาส่วนนครรัฐสปาร์ตาเจริญในลักษณะที่เป็นรัฐทหารในรูปเผด็จการมีความแข็งแกร่งเกรียงไกรเป็นผู้นำของนครรัฐอื่นๆกล้าหาญและเด็ดเดี่ยวในด้านการรบการศึกษาเกี่ยวกับอารยธรรมกรีกโบราณส่วนใหญ่จึงเป็นการศึกษาเรื่องราวเกี่ยวกับนครรัฐเอเธนส์และนครรัฐสปาร์ตาชาวกรีกโบราณเป็นชาวอินโด-ยูโรเปียนเรียกตัวเองว่าเฮลีนส์เรียกบ้านเมืองของตนเองว่าเฮลัสและเรียกอารยธรรมของตนเองว่าเฮเลนิคชาวกรีกตั้งบ้านเรือนของตนอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ตรงปลายสุดของทวีปยุโรปตรงตำแหน่งที่มาบรรจบกันของทวีปยุโรปเอเชียและแอฟริกาเป็นต้นเหตุให้กรีซโบราณได้รับอิทธิพลความเจริญโดยตรงจากทั้งอียิปต์และ เอเชียกรีซได้อาศัยอิทธิพลดังกล่าวพัฒนาอารยธรรมของตนขึ้นโดยคงไว้ซึ่งลักษณะที่เป็นของตัวเอง
เรื่องย่อ....
หนังเรื่อง Troy (2004)
กิเลส คือ สิ่งที่เป็นหัวใจของทุกวิกฤติกาล ที่เป็นตัวเดินเรื่อง Troy บันทึกเหตุการณ์อันเป็นตำนาน แห่งชัยชนะและโศกนาฏกรรม ของสงครามโทรจันอันลือเลื่อง เมล็ดพันธุ์แห่งสงครามได้ถูกบ่มเพาะขึ้น เมื่อ กษัตริย์เมเนลาอุส (เบรนแดน กลีสัน)แห่งสปาร์ตา ได้เป็นเจ้าภาพจัดงานเลี้ยง เพื่อเจรจาเพื่อสันติกับ กษัตริย์ไปรอัม (ปีเตอร์ โอ’ทูล) แห่งทรอย ซึ่งมี เจ้าชายเฮกเตอร์ (อีริค บานา) โอรสองค์โตผู้พิทักษ์ของทรอยมาเป็นตัวแทน
ในระหว่างที่สองผู้นำกำลังเฉลิมฉลองการสิ้นสุด ของการทำลายล้างที่ไม่อาจนับได้ถ้วน แห่งสงครามที่ยืดเยื้อมาหลายปีนั้น เจ้าชายปารีส (ออร์แลนโด บลูม) น้องชายผู้หล่อเหลาอย่างน่าอัศจรรย์ของเฮกเตอร์ ได้หายตัวไป – เพียงเพื่อจะไปปรากฎตัวอยู่ในห้องบรรทมของ เฮเลน (ไดแอน ครูเกอร์) ชายาแห่งเมเนลาอุส ซึ่งเป็นที่รู้กันไปทั่วทั้งพิภพว่า เป็นหญิงที่งามที่สุดในโลกผู้หนึ่ง เมื่อปารีสลักพาตัวเฮเลนไปจากวังของเมเนลาอุส โดยที่เฮกเตอร์ไม่ได้ล่วงรู้ ชะตาชีวิตของคนทั้งสองก็ถูกปิดผนึก : ผู้นำของชนเผ่ากรีกจำนวนนับไม่ถ้วน จะรวมตัวกันเพื่อก่อสงครามกับโทรจัน!
ตำนานที่แพร่สะพัดอย่างรวดเร็วเกี่ยวกับอคิลลิส บังคับให้ อกาเมมนอน (ไบรอัน ค็อกซ์) กษัตริย์จองหองผู้ทะเยอทะยานของกรีก ซึ่งเป็นพี่ชายของเมนเลาอุส ต้องจำใจเรียกตัวเขามาร่วมสงคราม ในการต่อสู้กับพวกโทรจัน ถึงแม้อคิลลิสจะรู้ว่า อกาเมมนอนทำไปเพื่อผลประโยชน์ส่วนตัวของเขาเองก็ตาม ความกระหายที่ไม่รู้จักพอ ในเกียรติยศและชื่อเสียงตลอดกาลของเขา ก็นำพาให้นักรบหนุ่มเดินทางไปแสนไกลจากบ้าน สู่แนวหน้าของสงครามที่เกิดขึ้น เพื่อแสวงหาอำนาจและการแก้แค้นเพื่อผู้อื่น
เฮกเตอร์และปารีสกลับมาถึงเมืองทรอย เพียงไม่นานก่อนหน้ากองทัพเรือกรีกที่กำลังบุกเข้ามา กษัตริย์ไปรอัม พระบิดาของทั้งสอง จะต้องตัดสินใจว่าจะเข้าสู่สงครามกับพวกกรีก หรือส่งชายาของเมนเลาอุสคืนกลับไป และมอบตัวปารีสให้เพื่อไปรับการลงโทษ ในขณะที่เจ้าชายหนุ่ม คงจะทำตามหัวใจรักของเขาเป็นแน่ ทางเลือกจึงชัดเจนแล้ว : ปารีสจะไม่ยอมคืนเฮเลนให้ และไปรอัมไม่ยอมเสียลูกชาย สงครามจึงเป็นหนทางเดียว...
และสงครามก็จะมาถึงพวกเขาในไม่ช้า เรือรบกรีกนับพันเข้าเทียบที่ชายฝั่งโทรจัน โดยมีความสามารถเสมือนเทพเจ้าของอคิลลิส เป็นแรงขับเคลื่อนการจู่โจม แม้แต่ความเป็นผู้นำของเฮกเตอร์ผู้กล้าหาญ ก็ไม่อาจหยุดยั้งการเข้ายึดครองชายหาด อย่างรวดเร็วของชาวกรีกได้
จวบจนยามสนธยา แผ่นดินก็นองไปด้วยเลือดของชาวกรีกและโทรจันเท่าๆ กัน เฮเลนหัวใจสลาย เมื่อเห็นว่ามูลค่าของความสุขแห่งเธอ คือความตายและพินาศอย่างมากมาย ของทั้งสองฝ่ายที่ขัดแย้งกัน แต่เธอไม่มีอำนาจที่จะหยุดยั้งมัน ความรักของปารีสฉุดรั้งเธอไว้ แต่ตัวเขาเอง ก็ได้รับผลกระทบจากสงครามที่เขาเป็นตัวต้นเหตุด้วย – พวกกรีกดูเหมือนจะมีจุดประสงค์ในการเข้ายึดครองเมือง
อย่างไรก็ตาม โชคชะตานั้นมีความไม่แน่นอน มากกว่าที่ชาวโทรจันรู้ ทุกอย่างไม่ได้เป็นไปด้วยดีนัก ระหว่างอกาเมมนอนและอคิลลิส นักรบที่มีค่าสูงของเขา ที่ไม่ได้ปกปิดที่จะสร้างความอายให้กับกษัตริย์ของเขา นักรบหนุ่มไม่ได้สู้เพื่อใครอื่นนอกจากตัวเอง – จนกระทั่ง เขาได้พบกับหญิงสาวที่หวาดกลัวแต่ท้าทายในเต๊นท์ของเขา เธอถูกส่งมาเป็นรางวัลสำหรับการทำลายวิหารแห่งอพอลโล เทพเจ้าผู้ปกครองและปกป้องแห่งทรอย เธอคือ ไบรซิอีส (โรส เบิร์น) ลูกพี่ลูกน้องของเฮกเตอร์และปารีส สาวงามซึ่งเป็นนักบวชของวิหาร และดูเหมือนจะเป็นคนที่ยังมีชีวิตผู้เดียว ที่ไม่รู้สึกหวาดหวั่นกับพลังของอคิลลิส ด้วยเล่ห์อคิลลิสกลับรับเธอไว้ ในความปกป้องของเขาเสียเอง
ไม่นานต่อมา เขาก็ได้เรียนรู้ถึงค่าของการอุทิศตนเช่นนั้น อคิลลิสพบว่าเขาไม่อาจปกป้องไบรซิอีส จากอารมณ์ที่ไม่อยู่กับที่ ของกษัตริย์ที่โกรธเกรี้ยวและริษยา ซึ่งเฝ้าคอยหาโอกาสที่จะลงโทษการสบประมาทของเขา เมื่ออกาเมมนอนได้ลักพาตัวไบรซิอีสไป อคิลลิสผู้เดือดดาล จึงปฏิเสธที่จะยกดาบของเขา เพื่อต่อสู้ในนามของกษัตริย์ผู้ชั่วร้ายอีกต่อไป เมื่อปราศจากอคิลลิส ที่จะเป็นผู้นำชัยชนะมาสู่ชาวกรีก พวกโทรจันก็ได้พิสูจน์ว่า พวกเขาเป็นคู่ต่อสู้ที่น่าเกรงขามกว่าที่คิด และเกิดความเย็นชาห่างเหิน ที่ยังผลให้เกิดความเสียหายร้ายแรงกับประเทศของทั้งสองฝ่าย
จากภาพยนตร์.....
หนังเรื่อง Troy นั้น ถ่ายทำมาจากเรื่องราวทางประวิติศาสตร์ ที่ไม่ใช่เพียงตำนานหรือนิยายกรีก หากแต่เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริงในอดีต พวกเราทุกคนทราบกันดีอยู่แล้วว่าในสมัยกรีก ผู้คนต่างเคารพในเทพเจ้า เรื่องราวที่ถ่ายทอดมารุ่นสู้รุ่นจึงมีการแต่งเสริมให้ดูว่าเทพนั้นยิ่งใหญ่เพียงใด ตามเทพนิยายนั้น ได้กล่าวไว้ว่า สงครามกำเนิดจากการวิวาทระหว่างเทพีอธีนา เฮราและแอโฟรไดที หลังอีริส เทพีแห่งการวิวาทและความบาดหมาง ให้ผลแอปเปิลสีทอง ซึ่งบางครั้งรู้จักกันในนาม "แอปเปิลแห่งความบาดหมาง" แก่ "ผู้ที่งามที่สุด" ซูสส่งเทพีทั้งสามไปหาปารีส ผู้ตัดสินว่าแอโฟรไดที "ผู้งามที่สุด" ควรได้รับแอปเปิลไป เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยน แอโฟรไดทีเสกให้เฮเลน หญิงงามที่สุดในโลกและมเหสีของพระเจ้าเมเนเลอัส ตกหลุมรักปารีส และปารีสได้นำพระนางไปยังกรุงทรอย ซึ่งในความจริงก็คือการแย่งชิงหญิงสาวแต่เพียงเท่านั้น ปารีสเจ้าชายเมืองทรอยได้ขโมยภรรยาของเมเนเลอัสแห่งสปาต้า(ชาวกรีก) ทำให้ชาวกรีกยกทัพไปตีเมืองทรอย และทางกรีกก็ได้ใช้อุบาย ม้าโทรจัน บุกทำลายและเผากรุงทอย ซึ่งในความเป็นจริงใช้เวลากว่า 10ปี ในการยึดครองกรุงทรอย
จากในหนัง ทำให้เราได้เรียนรู้เกี่ยวกับอารยธรรมของกรีกได้มากมายทั้ง ปติมากรรม บ้านเรือน ราชวงศ์ ชนชั้น และ ที่เด่นชัดสุดคงเป็นทางด้านสงคราม เพราะในสมัยกรีก ถือว่ามีสงครามฆ่ากันอยู่ตลอด และในหนัง จะเห็นได้ถึงการเคลื่อนพลผ่านทางทะเลโดยเรือ การพายเรือที่ยังใช้ทาสในการพาย การวางฐานที่มั่นที่ต้องสร้างแนวป้องกันข้าศึก การสู้รบโดยใช้หอกและโล่ การวางแผนรบ
ในการทำสงครามก็จะมีทั้งฝ่ายบุก และ ฝ่ายรับ โดยในสงครามครั้งนี้กรุงทอยเป็นฝ่ายตั้งรับและมีกำแพงสูงใหญ่ป้องกันเมืองอยู่ พร้อมกับพลธนูชั้นเยี่ยมประจำการอยู่ ทางฝั่งกรีกจึงทำการบุกได้อย่างลำบาก
เมื่อการรบเป็นไปอย่างลำบาก ชาวกรีกจึงได้คิดอุบาย ม้าโทจัน เพื่อเข้าไปยังในเมือง โดยม้าโทจันนี่ก็คือกับดักนี่เอง มันถูกสร้างจากไม้เป็นรูปม้าขนาดใหญ่ โดยภายในท้องนั้นบรรจุไปด้วยทหารชั้นเยี่ยมของ อคิลิส วีรบุรุษแห่งกรีก เพื่อลักลอบเข้าไปในกำแพง และ โจมตีชาวทรอยจากภายใน วิธีการก็ง่ายแสนง่าย ก็บอกกษัตริย์ของทรอยว่านี้เป็นการขอสงบศึก และทำเป็นยอมแพ้ต่อกรุงทรอย เพื่อตกกลางคืน อคิลิสและทหารก็ออกมา จัดการยามเฝ้าประตู และ ระดมทหารเข้ายึดครองกรุงทอย โดยสงครามในครั้งนี้เป็นชัยชนะของชาวกรีกอย่างแท้จริง และ ม้าโทจัน ก็ได้กลายมาเป็นสัญลักษณ์ของ สงครามแห่งทรอยไปโดยปริยาย
ต่อไปจะเป็นในด้านของชนชั้น ซึ่งในหนังก็ได้แบ่งแยกอย่างชัดเจน คือมี กษัตริย์ ขุนนาง นักบวช ทหาร ชาวเมือง และ ทาส โดยในหนังที่พอจะเห็นได้ชัด และ ค่อนข้างมีเยอะในสมัยนั้น ก็คือทาส ทาสคือชนชนต่ำสุด มีหน้าที่รับใช้นาย ไม่มีอิสรภาพ ต้องตรากตรำทำงานเพียงอย่างเดียว ทั้งการพายเรือ การยกของ แบกสัมภาระ ทาสผู้หญิงก็มีหน้าที่คือปรณนิบัติผู้ชาย โดยในเรื่อง เจ้าหญิงที่ถวายจนเป็นอุบาสิกา ก็เกือบถูกตราประทับเป็นทาสของชาวกรีก
ในพระราชวัง ก็จะมีทั้งกษัตริย์ ขุนนาง และ นักบวช โดยขุนนางจะเป็นผู้แนะนำ กษัตริย์ ส่วนนักลวชมีหน้าที่ดูดวงชะตา โดยส่วนใหญ่อ้างอิงกับเทพเจ้า (ชาวทรอยนับถือเทพอพอลโล่ เทพแห่งแสงอาทิตย์) ส่วนกษัตริย์มีหน้าที่ตัดสินใจสุดท้ายว่าจะทำอะไร ซึ่งกษัตริย์ในสมัยนั้นย่อมใฝ่หาในสงคราม เพื่อขยายอาณาเขตของตน และประกาศอำนาจของตน ให้ประเทศอื่นเกรงกลัว
และในด้านของปติมากรรม การก่อสร้างบ้านเมืองนั้น เมืองส่วนใหญ่จะประกอบไปด้วยพระราชวังกลางใจเมือง ต่อมาเป็นบ้านเรือนตามยศตำแหน่ง และ ต่อมาเป็นบ้านของชาวเมือง โดยจะมีกำเเพงขนาดใหญ่ล้อมรอบ และ เสาที่ถือเป็นสัญลักษณ์ของอารยธรรมกรีกก็ปรากฏในเรื่องเช่นกัน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น